ภาวะ กระดูกหน้าอกบุ๋ม (Pectus excavutum) พบได้บ่อย ราวๆ 5 %- 7%ของผู้มารับบริการเสริมหน้าอกกับคุณหมอ ซึ่งสาเหตุมักเป็นแต่กำเนิด สาเหตุเกิดจากการเจริญเติบโตของกระดูกชายโครงที่ไม่สมดุล มักพบร่วมกับกระดูกสันหลังคด. และไม่พบว่าเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์แต่อย่างใด คนไข้กลุ่มผู้ใหญ่ มักจะไม่มีอาการใดๆนอกจากปัญหาเรื่องความสวยงาม ( ในกลุ่มเด็กที่เป็นรุนแรงอาจเกิดการกดทับปอดและหัวใจ ซึ่งมักได้รับการแก้ไขไปแล้ว)
การเสริมหน้าอกในกรณีนี้ มีข้อควรระวังเนื่องจากกระดูกโค้งเป็นแอ่ง ในการผ่าตัดต้องระมัดระวังเพื่อไม่ให้เข้าไปสู่ช่องปอด ข้อแนะนำคือแนะนำให้ใช้แผลผ่าตัดที่มองเห็นได้ชัดที่สุด คือ แผลราวนม ผ่าตัดช้าอย่างใจเย็น ข้างที่กระดูกยุบ จะมีแนวโน้มหน้าอกเคลื่อนลงต่ำกว่าอีกข้าง และใช้ขนาดซิลิโคนที่ใหญ่กว่าเพื่อชดเชย การใช้ซิลิโคนทรงหยดน้ำ ช่วยทำให้การชดเชยทำได้ดีขึ้น และหากเหลือบริเวณที่ยังเป็นแอ่งบุ๋มในส่วนที่การเสริมหน้าอกไปไม่ถึง สามารถฉีดไขมันเพิ่มเติมได้