การผ่าตัดการเสริมจมูกด้วยกระดูกอ่อน มาตรฐานสูงสุดของความงามและความปลอดภัยในการเสริมจมูกยุคปัจจุบัน By Dr.Peera
Tip cartilage Modification ( PSC technique ) : New era of nose augmentation by Dr.Peera .( การเสริมจมูกโดยการสร้างปลายกระดูกอ่อน ด้วย PSC เทคนิค -ที่มา จากอดีต ถึงปัจจุบัน )
ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน สิ่งหนึ่งที่สร้างปัญหาในวงการศัลยกรรมตกแต่งไทย มาโดยตลอดคือ การเสริมจมูกด้วย ซิลิโคนจรดปลายจมูก ซึ่งในระยะยาวหลายปีผ่านไป เนื้อเยื่อที่ปลายจมูกมักจะบางลง และ ร่วมกับการเห็นซิลิโคน เป็นสันแท่ง ไม่ธรรมชาติเมื่อเนื้อบางลง ไม่มีใครสามารถคาดเดาได้เลยว่าเคสไหนจะเกิดการทะลุหรือรุนแรงมากน้อย แค่ไหน ทั้งนี้เพราะเอฟเฟค ของการที่ซิลิโคนซึ่งเป็นสิ่งแปลกปลอม สัมผัสและดันไปที่ผิวหนังปลายจมูกโดยตรง เมื่อเกิดปัญหาแล้วคนไข้ก็จะมีปัญหานี้ไปจนตลอดชีวิต แก้จมูกนับจำนวนครั้งไม่ถ้วน และหลายรายในที่สุด ไม่สามารถแก้ไขให้กลับคงเดิมได้ และจำต้องยอมรับการเสียโฉมในที่สุด และตามที่มีคนไข้มาปรึกษา พบว่าเกิดได้ ในทุกคนไม่จำกัดว่าจมูกนั้นจะเสริมด้วยซิลิโคนนิ่มแค่ไหน ทำมาราคาถูกหรือแพงแค่ไหน หลักพันหรือหลักหลายแสนก็ตาม ทำไมจึงชอบเกิดปัญหาที่ปลายจมูก ? นั่นก็เพราะส่วนปลายจมูกเป็นส่วนที่มีแรงตึงที่ผิวหนังสูง มีการเคลื่อนไหวเสียดสีจากการใช้งาน ( Friction and shearing force ) จึงทำให้ศัลยแพทย์ที่มุ่งเน้นในการ
สร้างงานคุณภาพที่ปลอดภัยและคงทนถาวร ต้องขบคิดหาวิธีที่ดียิ่งขึ้นในการผ่าตัดเสริมจมูกแบบใหม่
หลายปีมาแล้วที่หมอได้มีประสบการณ์พบเห็น และได้พูดคุยกับศัลยแพทย์ชื่อดังด้านผ่าตัดจมูกในต่างประเทศ และได้ค้นพบว่า การสร้างงานที่ปลอดภัยและสวยงามนั้นสามารถทำได้ หากแต่ต้องใช้ความพยายามของศัลยแพทย์ อย่างมาก เพราะเป็นวิธีที่ยุ่งยากซับซ้อนมาก ต้องทำงานอย่างปราณีต กินเวลาผ่าตัดนานกว่าปกติเกือบ 5 เท่า จะไม่สามารถทำงานที่รวดเร็วได้เหมือนก่อนที่เสริมจมูกด้วยซิลิโคนทั้งแท่ง เป็นการผ่าตัดปรับแต่งและเรียงกระดูกอ่อน ที่ละชิ้น และร่วมกับเสริมกระดูกอ่อนจากส่วนอื่น เช่น จากหลังใบหู และแผงกั้นกลางจมูก ไม่มีการใช้ซิลิโคนที่ส่วนปลายจมูกเลย จึงเรียกได้ว่าเป็นปลายจมูกธรรมชาติ 100 %
หมอคิดอยู่นานว่าจะเริ่มดีหรือไม่ แต่ในที่สุดเมื่อมองระยะยาวถึงผลลัพธ์ จึงตัดสินใจประกาศยกเลิกการใช้ ซิลิโคนทำปลายจมูก ผลก็คือ จำนวนคนไข้ลดลงเป็นอย่างมากหลายเท่าตัว คนไข้คนแรก ที่ใช้เทคนิคนี้ เป็นคนรู้จักของญาติคุณหมอ หมอต้องอธิบายอยู่ถึง 1 ชั่วโมงเต็มๆ ว่าเหตุใด จึงต้องผ่าตัดด้วยวิธีการเช่นนี้ เรียกว่าวันนั้น คนไข้ท่านอื่นที่รอตรวจบ่นกันอุบทีเดียว แต่ก็ต้องขอบคุณว่าถ้าไม่มีเคสนั้น ย่อมไม่มีวันนี้ที่การทำจมูกโดยการใช้กระดูกอ่อนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในเมืองไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ครั้งที่หมอให้สัมภาษณ์หนังสือ cosmetic magazine เมื่อหลายปีก่อนนั้น หมอก็ได้ทำนายไว้แล้วว่า ในที่สุดวงการ เสริมจมูกเมืองไทยจะต้องก้าวมาสู่จุดนี้แน่นอนภายใน 5 – 10 ปี
ในช่วงเริ่มแรก ขณะนั้นในเมืองไทย หากพูดถึงการทำเช่นนี้ ศัลยแพทย์ตกแต่งท่านอื่นๆหลายท่านกล่าวว่า แปลกประหลาด หาว่าหมอเพี้ยนไปบ้าง บ้างก็ว่าโครงสร้างคนไทยไม่เหมือนเกาหลีนะ เป็นต้น อันนี้เป็นประสบการณ์ ตรงที่คนไข้มาเล่าให้ฟัง ว่าไปปรึกษาศัลยแพทย์ต่างๆบางท่าน แล้ววิจารณ์มาแบบนี้ แต่หมอเข้าใจดีว่า การจะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงอะไรที่หมออื่นและคนไข้จำนวนมากเชื่ออยู๋เดิม การจะเลี้ยวกลับแรงเสียดทานย่อมสูงเสมอ เหมือนตอนที่หมอเริ่มทำซิลิโคนเสริมหน้าอกทรงหยดน้ำในเมืองไทยก็เช่นกัน
หมอเชื่อมั่นลึกๆว่า ในที่สุดผู้คนจะเข้าใจ สิ่งที่หมอพยายามทำอยู่ ว่าทำไปเพื่ออะไรและคุ้มค่าเช่นไร หากดูเริ่มต้นอาจจะคิดว่าค่าใช้จ่ายสูงแต่คิดระยะยาวเป็นสิบๆปีจะพบว่าคุ้มมาก และงานแบบนี้ คืองานศิลป์ งานประติมากรรมซึ่งจะเร่งรีบไม่ได้เลย ต้องทำด้วยใจ เราก็อดทนเริ่มนับหนึ่งมาเรื่อย และ ด้วยความที่ยังไม่มีคน รู้จักเทคนิคนี้ อธิบายไปร้อยคนแต่จะมีคนทำผ่าตัดคนเดียว เริ่มพัฒนาจากเทคนิคพื้นฐาน เก็บเกี่ยวประสบการณ์ จนมาถึงยุคปัจจุบัน ที่เรียกได้ว่ามีความซับซ้อนของเทคนิคมากกว่าสมัยแรกมาก และเป็นเทคนิคเฉพาะของ PSC ก็ว่าได้ ที่คลีนิกหมอในปัจจุบัน การแก้ไขกระดูกอ่อนถือเป็นสิ่งที่จำเป็นหากต้องปรับแต่งรูปทรงปลาย หรือทำให้โด่งขึ้น เว้นกรณีเดียวคือ การที่ปลายจมูกของคนไข้สมบูรณ์แบบมาอยู่แล้ว หรือคนไข้ไม่ต้องการปรับแต่งปลายจมูก
ประโยชน์ของการใช้เนื้อเยื่อจริง 100 % คือ ผิวหนังที่ปลายจมูกจะสามารถปรับยืดตามที่ต้องการได้โดย ไม่มีความเสียหายระยะยาว ทำให้ผลลัพธ์นี้คงทน ใช้ได้ดีทั้งเคสใหม่และเคสแก้ไข ซึ่งแม้แต่เคสที่ผิวหนังบางมาก จนเกือบทะลุ มีอาการแดงรุนแรง ก็สามารถแก้ไขด้วยวิธีการนี้จนกลับสู่สภาพปกติในที่สุด เพราะร่างกายจะตอบสนอง มีเลือดมาเลี้ยงผิวหนังที่ปลายได้ ไม่เหมือนถูกดันอยู่ด้วยซิลิโคน
ส่วนการผ่าตัดที่ใช้กระดูกอ่อนครอบไว้ที่ปลายซิลิโคน หมอไม่ได้นำมาใช้ เพราะมีโอกาสที่กระดูกอ่อน อาจจะตายจากการที่ยังมีซิลิโคนดันอยู่ และบางครั้งถ้าผิวบางมากจะเห็นกระดูกอ่อนเป็นวงชัดเจนที่ปลายจมูกได้
ข้อจำกัดในการทำการผ่าตัดแบบนี้ คือ ศัลยแพทย์จำเป็นต้องมีความรู้ด้านโครงสร้างของจมูกอย่างลึกซึ้ง ต้องผ่าตัดเสริมซิลิโคนจมูกมาจนชำนาญ มีความแม่นยำสูง จนทราบแล้วว่าจะทำอย่างไร ให้จมูกไม่เอียงไม่เบี้ยว และเป็นธรรมชาติเสมือนจริง เพราะการผ่าตัดกระดูกอ่อนนี้ เป็นการทำจมูกที่หมอผู้ผ่าตัดต้องตั้งใจให้เป็นจมูกที่คงทน ถาวร ไม่ต้องแก้ไขอีกในอนาคตอีกแล้ว และอีกสิ่งที่เป็นความรู้สึกที่ต้องมี คือ ความคลั่งไคล้หลงไหลต่อการเสริมจมูกให้สวยที่สุด หรือที่เรียกว่า ต้องมี passion มิฉะนั้นจะล้มเลิกไปเสียก่อน
ในปัจจุบัน หมอก็รู้สึกดีใจที่ได้เป็นคนหนึ่งที่มีส่วนในการริเริ่มพัฒนา เปลี่ยนโฉมวงการศัลยกรรมตกแต่งจมูก ในประเทศไทย ให้เดินทางต่อ จากที่เราเคยหยุดอยู่ที่เทคนิคเดิม และคอยแก้ปัญหาเดิมๆมานา และ คิดหวังไว้ว่าวงการศัลยกรรมตกแต่งไทยจะก้าวต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง และเป็นผู้นำด้านศัลยกรรมตกแต่งในเอเชีย ซึ่งต้องอาศัยพลังของศัลยแพทย์ตกแต่งรุ่นพี่ รุ่นน้อง ร่วมอาชีพทุกท่าน ท้ายสุด ถ้าถามว่าปณิธานในการผ่าตัดของหมอคืออะไร และอะไรคือสิ่งที่ได้จากการพัฒนาการเสริมจมูกชนิดใหม่นี้ ก็คือ ” การบรรจงสร้างงานศิลป์ที่ดีที่สุด และไม่มีสิ่งที่เกินความพยายาม “ นั่นเอง
เทคนิกการผ่าตัดเสริมจมูกโดยการสร้างปลายกระดูกอ่อนจริง 100 %
( Nasal Augmentation with Tip modification โดย นพ.พีระ เทียนไพฑูรย์ PSC Technique) หลายท่านคงเคยนึกสงสัยว่า การที่รูปทรงจมูกของแต่ละคนแตกต่างกันนั้นเพราะอะไร ทำไมจมูกบางคนถึงสวยได้รูปกว่าคนอื่น แท้ที่จริงแล้วโครงสร้างของจมูกนั่นเองที่แตกต่างกัน ซึ่งแนวคิดนี้คือ “ หากสามารถแก้ไขโครงสร้างทุกชนิดให้สวยใกล้เคียงกันได้ ย่อมสามารถปรับแต่งรูปทรงให้สวยแบบใดก็ได้เช่นกัน “
โครงสร้างของจมูก ประกอบไปด้วย
- กระดูกแข็ง (Bone ) ได้แก่ กระดูกสันจมูก ( nasal bone ) และกระดูกขากรรไกรบน ( upper maxilla ) สองอย่างนี้จะเป็นตัวกำหนดรูปทรงของจมูกทางด้านบน ( โคนจมูก ) และความกว้างหรือแคบของฐานจมูกทางด้านข้าง
- กระดูกอ่อน (Cartilages) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่มีความซับซ้อน และบอบบาง ประกอบด้ายกระดูกอ่อนชิ้นเล็กๆจำนวนมากประกอบเข้าด้วยกัน จะเป็นตัวกำหนดรูปทรงของจมูกส่วนล่าง ( Cartilaginous framework )และปลายจมูก ( Nasal Tip) ว่าจะสวยงามเพียงใด
- ชั้นผิวหนัง และไขมัน ( Soft tissue coverage ) จะเป็นตัวแปรสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้รูปทรงของปลายจมูกใหญ่ หรือเล็กและหากกล่าวถึงเทคนิกต่างๆในการเสริมจมูกในปัจจุบัน และข้อดี – ข้อเสีย สามารถแบ่งได้ 3 วิธี ดังนี้
- เสริมจมูก ด้วยซิลิโคนจรดปลายจมูก ( Conventional Nasal implant technique) หมายถึง การเหลาซิลิโคนให้ได้รูปทรง สอดไว้ใต้ผิวหนัง วางทับอยู่บนกระดูกสันจมูกและ กระดูกอ่อนปลายจมูก ซึ่งเป็นวิธีเดิมที่ศัลยแพทย์ใช้กันมานานหลายสิบปี อย่างไรก็ตามเป็นที่รู้กันว่า ถ้าระยะเวลานานพอ เช่น 1-2 ปีขึ้นไป ไม่ว่าศัลยแพทย์จะระมัดระวังอย่างไร หรือราคาทำผ่าตัดแพงหลายหมื่นหลายแสนแค่ไหน ซิลิโคนจะนิ่มหรือยืดหยุ่นมากแค่ไหน ( Softness or durability ) หากไม่ปฏิเสธความจริง ก็จะพบว่าสามารถเกิดปัญหาผิวหนังที่ปลายจมูกบางลงจนเกิดความไม่ธรรมชาติ มองเห็นซิลิโคนได้ หรือบางครั้งรุนแรงจนปลายจมูกทะลุได้ (ดังภาพ) และการจะแก้ไขให้กลับมาในสภาพที่ปกติ หลังจากเกิดการทะลุนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก หรือทำไม่ได้เลย เพราะปลายจมูกจะหดสั้นลง มีการบุ๋มของเนื้อเยื่ออย่างถาวรจากผิวหนังที่บางมาก และแผลเป็นหดรั้งจากภายใน
สาเหตุที่มักมีปัญหาการบางของผิวหนัง( Skin Atrophy ) เฉพาะที่ปลายจมูก เพราะ
- ปลายจมูกเป็นส่วนที่มีความตึงสูงสุด ( high tension ) เพราะเป็นส่วนที่ยื่นมากที่สุด ยิ่งเสริมซิลิโคนที่ปลาย แรงตึงนี้ก็จะสูงกว่าธรรมชาติมาก ซึ่งในความเป็นจริง ผิวหนังทุกส่วน ของร่างกายจะตอบสนองต่อแรงตึงที่ผิดธรรมชาติจากการใส่วัสดุเทียม (Implant) โดยการฝ่อลงของชั้นผิวหนังและไขมัน เช่น เสริมจมูก เสริมหน้าอก เป็นต้น
- คนเราสัมผัสจมูกก็มักจะโดนปลายจมูกก่อน ไม่ว่าจะการขยี้จมูก ล้างหน้า สัมผัสต่างๆ ก็จะเกิดแรงถู ( Friction ) ข้อดี คือ ค่าใช้จ่ายถูก ศัลยแพทย์ผ่าตัดได้รวดเร็ว ข้อเสีย คือ ความเสียหายต่อเนื้อเยื่อโดยเฉพาะที่ปลายจมูกในระยะยาว อาจรุนแรงมากจนทะลุได้ เวลาสัมผัสที่ปลายจมูกยังรู้สึกถึงซิลิโคนได้ ไม่ธรรมชาติ
- เสริมจมูก ด้วยซิลิโคนจรดปลายจมูก + วางกระดูกอ่อนเสริมเย็บครอบไว้ที่ปลายซิลิโคน ( Conventional Nasal implant technique + Cartilage graft ) ( ทาง PSC ไม่ได้ใช้วิธีนี้ ) หมายถึง การผ่าตัดตามข้อ 1 แต่เพิ่มการวางกระดูกอ่อนชิ้นหนึ่งครอบไว้หน้าต่อปลายแท่งซิลิโคน เพื่อลดปัญหาการบางหรือทะลุของผิวหนังปลายจมูก สามารถเพิ่มความปลอดภัยได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่อาจพบ คือ
2.1. หากผิวหนังปลายจมูกบางอยู่แล้วอาจจะทั้งในเคสทำใหม่ หรือเคสแก้ไข
มีโอกาสสามารถมองเห็นลักษณะของชิ้นกระดูกอ่อนได้ชัดเจน ดูไม่ธรรมชาติ ( ดังภาพ )
2.2 มีโอกาสที่กระดูกอ่อนจะตาย หรือสลายไปได้ เนื่องจากเลือดที่สามารถเข้ามาเลี้ยงได้เพียงด้านเดียว คือด้านที่สัมผัสกับผิวหนัง เพราะอีกด้านหนึ่งวางอยู่บนซิลิโคนโดยตรง ไม่สามารถมีเลือดมาเลี้ยงได้
( ดังภาพ ทั้งสองเคส พบว่าเมื่อกระดูกอ่อนสลายไปจึงมองเห็นซิลิโคนและผิวหนังที่ปลายบางเช่นเดิม )
การอยู่รอดของกระดูกอ่อนนั้น ทางแพทย์เรียกว่า grafting ชิ้นกระดูกอ่อนที่ย้ายมาจากที่อื่น เปรียบเสมือนกาฝาก ต้องการสารอาหารและเส้นเลือดใหม่จากเนื้อเยื่อรอบๆ จึงควรวางให้สัมผัสกับเนื้อเยื่อที่ดีโดยรอบให้มากที่สุด ข้อดี คือ ค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก การผ่าตัดทำได้รวดเร็ว เพราะไม่ต้องแก้โครงสร้างจมูก ข้อเสีย คือ มีความเสี่ยงเรื่องการมองเห็นชิ้นกระดูกอ่อนเป็นวงที่ปลายจมูก มีโอกาสเกิดการสลายไปของกระดูกอ่อน และเวลาสัมผัสที่ปลายจมูกยังรู้สึกถึงซิลิโคนได้
- เสริมจมูก โดยการวางซิลิโคน หรือวัสดุอื่นเช่น Gore-tex เพื่อเสริมเฉพาะที่สันจมูก ร่วมกับการปรับแต่งโครงสร้างกระดูกอ่อนที่ปลายจมูก และการเสริมกระดูกอ่อนที่ปลายจมูก ( Nasal bridge implant + Nasal tip framework reshaping + cartilage graft ) ( หมอพีระได้นำมาพัฒนาต่อเนื่องจนปัจจุบันกลายเป็นเทคนิคเฉพาะ PSC Technique ) ซึ่งการปรับแต่งปลาย บางครั้งหมอเรียกย่อๆว่า Tip Modification แต่แท้ที่จริงแล้วคนที่วางคอนเซปท์ เรื่องนี้นานมาแล้ว คือ Professor Jach H.Sheen ปัจจุบันอยู่ที่ California ,USA ซึ่งตอนนั้นนิยมใช้กระดูกอ่อนกั้นกลางจมูก ( Septum ) แต่ในปัจจุบันในวงการจะนิยมใช้กระดูกอ่อน จากส่วนหลังใบหู ( Concha ) หรือ กระดูกกั้นกลางจมูกก็ได้
( กระดูกอ่อนจะถูกแก้ไขเพื่อสร้างเป็นปลายใหม่ที่ได้รูปสวย )
วิธีนี้ในปัจจุบันได้รับการยอมรับอย่างสูงในวงการศัลยแพทย์ตกแต่งเฉพาะด้านเสริมจมูกและ ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ระดับนานาชาติมากมาย และพิสูจน์แล้วว่ามีความปลอดภัยสูงที่สุดและคงทนถาวร เพราะสาเหตุดังนี้
- ซิลิโคนหรือวัสดุเสริมจมูก จะถูกวางในตำแหน่งที่ปลอดภัยและพบปัญหาน้อยมากคือ ที่สันจมูกเท่านั้น
- ที่ปลายจมูก ซึ่งมีความเสี่ยงสูง ไม่มีการใช้ซิลิโคน แต่อาศัยการปรับแต่งโครงสร้างจริงเป็นหลัก ได้แก่ การปรับแต่งรูปทรงกระดูกอ่อนธรรมชาติ ทั้งขนาด การเรียงตัว มุมและองศาต่างๆ ความสั้นยาวของกระดูกอ่อนต่างๆ เพื่อให้เข้าใกล้กับโครงสร้างจมูกที่สวยที่สุดตามธรรมชาติ อาจร่วมกับการใช้กระดูกอ่อนเสริมที่ปลายจมูกเลียนแบบกระดูกอ่อนจริงตามธรรมชาติ จึงไม่พบปัญหาการมองเห็นวงของกระดูกอ่อนแม้ผิวหนังบางมากๆ หรือในงานแก้ไขเป็นต้น
- ผิวหนังที่ปลาย สามารถยืดตามกระดูกจริงได้ โดยไม่มีการบางลงระยะยาว เนื่องจากไม่เกิดการฝ่อตัว เพราะไม่ได้สัมผัสกับวัสดุเทียม
- กระดูกอ่อนที่ปลายจมูกเป็นลักษณะผสมผสาน ระหว่างกระดูกอ่อนจริงที่มีอยู่แล้ว กับย้ายกระดูกอ่อนมา และไม่มีการใช้ซิลิโคนแทรก จึงแทบไม่มีปัญหาเรื่องการฝ่อหรือสลายไปของกระดูกอ่อนแต่จำเป็นต้องมีความรู้และ เทคนิกในการดูแลกระดูกอ่อนเป็นอย่างดี
- โครงสร้างที่ใบหู หรือ กระดูกกั้นกลางจมูก จะไม่เสียรูปทรง เพราะนำส่วนที่ซ่อนอยู่ เฉพาะบางส่วนไปใช้เท่านั้น
- ข้อดี ความคงทน สวยงามและปลอดภัยระยะยาว เวลาสัมผัสเป็นธรรมชาติเนื่องจากเป็นปลายกระดูกอ่อนจริง
- ข้อเสีย ความซับซ้อนของการผ่าตัดสูงมากหลายเท่า ใช้เวลาผ่าตัดนานหลายชั่วโมง ค่าใช้จ่ายสูง ผลลัพธ์ขึ้นกับเทคนิกค่อนข้างมาก และหากไม่ชำนาญการแก้ไขจะยากกว่า
กรณีการใช้กระดูกอ่อนเทียม เพื่อพยายามมาใช้แทนกระดูกอ่อนจริงนั้น วัสดุชนิดนี้แท้จริงคือ MEDPOR หรือ porous polyethylene จะมีรูพรุนให้เนื้อเยื่อเข้าไปยึดเกาะ หมอเลิกใช้ไปเมื่อหลายปีก่อน เนื่องจากพบปัญหาสำคัญคือ ยังมีโอกาสทะลุได้พอสมควร และปลายจมูกจะแข็งไม่มีการเคลื่อนไหวที่ดี (Stiffness) ปัจจุบันศัลยแพทย์ด้านทำจมูกที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศก็ไม่นิยมใช้เช่นกัน สำหรับโดยส่วนตัว หมอชื่นชอบวิธีที่ 3 นี้ และใช้เป็นมาตรฐานในการผ่าตัดจมูก และได้ริเริ่มพัฒนามานาน ซึ่งที่ต่างประเทศก็มีการผ่าตัดลักษณะนี้อย่างแพร่หลายเช่นกันเนื่องจากปลอดภัยกว่าวิธีเดิม หมอได้นำมาใช้กับคนไข้ตนเองตั้งแต่ยุคที่ในเมืองไทยยังไม่ค่อยรู้จัก บางศัลยแพทย์จึงยังออกความเห็นต่อต้านสิ่งเหล่านี้อยู่ ตอนที่มีสื่อมาสัมภาษณ์ก็เกิดกระแสต่อต้านรุนแรงพอสมควร หมออดทนพัฒนาเรื่อยมาให้ได้งานที่สมบูรณ์ และปัจจุบันกลายเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปแล้ว ที่คลินิกเองคนไข้จะมาปรึกษาเรื่องการผ่าตัดจมูกชนิดนี้เป็นหลัก จนแทบจะยกเลิกการผ่าตัดสองวิธีแรกไปแล้ว ทั้งที่แต่ก่อนหมอก็ชอบใช้ซิลิโคนเสริมจมูก และเห็นว่าสะดวกดี ข้อจำกัดคือ ความซับซ้อนในการผ่าตัดซึ่งมากกว่าปกติหลายเท่า ใช้เวลาผ่าตัดนานเกือบ 3 ชั่วโมง/ราย วันหนึ่งจึงสามารถทำผ่าตัดได้เพียงรายเดียวเท่านั้น ยิ่งเคสแก้ไขยิ่งยากทวีคูณเพราะเซนสิทีฟมาก เพราะโครงสร้างทุกอย่างต้องซ่อมส่วนที่เสียหายจากซิลิโคนเดิมเสียก่อนและผิวหนังก็มักจะบางมาก ในแง่ของคนไข้เอง คนที่สนใจในการผ่าตัดชนิดนี้ก็ควรสอบถามศัลยแพทย์ของตนในรายละเอียดว่า การผ่าตัดเสริมจมูกเป็นวิธีไหนในระหว่าง 3 วิธีดังกล่าวและอาจต้องตัดสินใจในแง่ของความเสี่ยงข้อดี ข้อเสียและ ค่าใช้จ่ายที่ตนเองยอมรับได้ด้วยเช่นกันครับ
ตัวอย่างการเสริมจมูกและแก้จมูก