สารบัญเนื้อหา

เทคนิคเสริมจมูก วิธีเสริมจมูก Open ด้วยเทคนิคพิเศษ โดยการสร้างปลายกระดูกอ่อนจริง

หลายท่านคงเคยนึกสงสัยว่า การที่รูปทรงจมูกของแต่ละคนแตกต่างกันนั้นเพราะอะไร  ทำไมจมูกบางคนถึงสวยได้รูปกว่าคนอื่น   แท้ที่จริงแล้วโครงสร้างของจมูกนั่นเองที่แตกต่างกัน   ซึ่งแนวคิดนี้คือ  “   หากสามารถแก้ไขโครงสร้างทุกชนิดให้สวยใกล้เคียงกันได้   ย่อมสามารถปรับแต่งรูปทรงให้สวยแบบใดก็ได้เช่นกัน  “

โครงสร้างของจมูก  ประกอบไปด้วย

  1. กระดูกแข็ง  (Bone )  ได้แก่ กระดูกสันจมูก (  nasal bone ) และกระดูกขากรรไกรบน  ( upper maxilla )   ซึ่งสองอย่างนี้จะเป็นตัวกำหนดรูปทรงของจมูกทางด้านบน  (  โคนจมูก ) และความกว้างหรือแคบของฐานจมูกทางด้านข้าง
  2. กระดูกอ่อน  (Cartilages)   ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่มีความซับซ้อน และบอบบาง ประกอบด้ายกระดูกอ่อนชิ้นเล็กๆจำนวนมากประกอบเข้าด้วยกัน  จะเป็นตัวกำหนดรูปทรงของจมูกส่วนล่าง ( Cartilaginous framework )และปลายจมูก ( Nasal Tip)    ว่าจะสวยงามเพียงใด
  3. ชั้นผิวหนัง และไขมัน  ( Soft tissue coverage )     จะเป็นตัวแปรสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้รูปทรงของปลายจมูกใหญ่ หรือเล็ก 

รีวิวแก้จมูกแบบ Open กับ คุณ นิวเคลียร์ หรรษา ดาราคนดัง แก้จมูกแบบ Open&Recon ด้วยเทคนิคเฉพาะของ PSC Clinic

และหากกล่าวถึงเทคนิกต่างๆในการเสริมจมูกในปัจจุบัน   และข้อดี – ข้อเสีย สามารถแบ่งได้ 3 วิธี ดังนี้

วิธีที่ 1 วิธีเสริมจมูกด้วยซิลิโคนปกติ ( Simple Nasal implant) 

เสริมจมูก ด้วยซิลิโคนจรดปลายจมูก   ( Conventional  Nasal implant technique) หมายถึง  การเหลาซิลิโคนให้ได้รูปทรง สอดไว้ใต้ผิวหนัง  วางทับอยู่บนกระดูกสันจมูกและกระดูกอ่อนปลายจมูก      ซึ่งเป็นวิธีเดิมที่ศัลยแพทย์ใช้กันมานานหลายสิบปี อย่างไรก็ตามเป็นที่รู้กันว่า ถ้าระยะเวลานานพอ เช่น 1-2 ปีขึ้นไป   ไม่ว่าศัลยแพทย์จะระมัดระวังอย่างไร หรือราคาทำผ่าตัดแพงหลายหมื่นหลายแสนแค่ไหน  ซิลิโคนจะนิ่มหรือยืดหยุ่นมากแค่ไหน  ( Softness  or durability ) 

หากไม่ปฏิเสธความจริงก็จะพบว่าสามารถเกิดปัญหาผิวหนังที่ปลายจมูกบางลงจนเกิดความไม่ธรรมชาติ มองเห็นซิลิโคนได้  หรือบางครั้งรุนแรงจนปลายจมูกทะลุได้ (ดังภาพ)    และการจะแก้ไขให้กลับมาในสภาพที่ปกติหลังจากเกิดการทะลุนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก หรือทำไม่ได้เลย  เพราะปลายจมูกจะหดสั้นลง มีการบุ๋มของเนื้อเยื่ออย่างถาวรจากผิวหนังที่บางมาก และแผลเป็นหดรั้งจากภายใน

ภาพเคสตัวอย่างเนื้อเยื่อที่ปลายจมูกบางลงจากการใส่ซิลิโคนที่ปลายจมูกหลังจาก 2-3 ปี

การทะลุปลายจมูกจากซิลิโคนผิวหนังหดตัวจากแผลเป็นรั้งเมื่อถอดซิลิโคนออก สาเหตุที่มักมีปัญหาการบางของผิวหนัง( Skin Atrophy )   เฉพาะที่ปลายจมูก  เพราะ

  • ปลายจมูกเป็นส่วนที่มีความตึงสูงสุด ( high tension ) เพราะเป็นส่วนที่ยื่นมากที่สุด ยิ่งเสริมซิลิโคนที่ปลาย แรงตึงนี้ก็จะสูงกว่าธรรมชาติมาก   ซึ่งในความเป็นจริง ผิวหนังทุกส่วนของร่างกายจะตอบสนองต่อแรงตึงที่ผิดธรรมชาติจากการใส่วัสดุเทียม  (Implant)  โดยการฝ่อลงของชั้นผิวหนังและไขมัน เช่น เสริมจมูก   เสริมหน้าอก    เป็นต้น
  • คนเราสัมผัสจมูกก็มักจะโดนปลายจมูกก่อน ไม่ว่าจะการขยี้จมูก ล้างหน้า สัมผัสต่างๆ  ก็จะเกิดแรงถู

( Friction ) ที่ผิวหนัง ช่วยเร่งให้ผิวบริเวณนี้บางมากขึ้น    ซึ่งอธิบายว่าทำไมบางครั้งเสริมปลายนิดเดียว ยังทะลุได้

ข้อดี      คือ  ค่าใช้จ่ายถูก  ศัลยแพทย์ผ่าตัดได้รวดเร็ว
ข้อเสีย   คือ  ความเสียหายต่อเนื้อเยื่อโดยเฉพาะที่ปลายจมูกในระยะยาว  อาจรุนแรงมากจนทะลุได้ เวลาสัมผัสที่ปลายจมูกยังรู้สึกถึงซิลิโคนได้ ไม่ธรรมชาติ

….


วิธีที่ 2 เสริมจมูกซิลิโคน+ ครอบปลายด้วยกระดูกอ่อน ( Silicone implant+ cap graft)

เสริมจมูก ด้วยซิลิโคนจรดปลายจมูก +  วางกระดูกอ่อนเสริมเย็บครอบไว้ที่ปลายซิลิโคน  ( Conventional  Nasal implant technique +  Cartilage graft )      ( ทาง  PSC ไม่ได้ใช้วิธีนี้ ) หมายถึง การผ่าตัดตามข้อ 1  แต่เพิ่มการวางกระดูกอ่อนชิ้นหนึ่ง ครอบไว้หน้าต่อปลายแท่งซิลิโคน เพื่อลดปัญหาการบางหรือทะลุของผิวหนังปลายจมูก  สามารถเพิ่มความปลอดภัยได้ในระดับหนึ่ง   อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่อาจพบ คือ   

           2.1.  หากผิวหนังปลายจมูกบางอยู่แล้วอาจจะทั้งในเคสทำใหม่ หรือเคสแก้ไข   มีโอกาสสามารถมองเห็นลักษณะของชิ้นกระดูกอ่อนได้ชัดเจน  ดูไม่ธรรมชาติ   ดังภาพ  )

(จากภาพ แสดงถึง ปัญหา  visible  graft หมายถึง การมองเห็นชิ้นกระดูกอ่อนที่ครอบไว้ปลายซิลิโคน เป็นวงนูน ไม่ธรรมชาติ)

  2.2   มีโอกาสที่กระดูกอ่อนจะตาย หรือสลายไปได้  เนื่องจากเลือดที่สามารถเข้ามาเลี้ยงได้เพียงด้านเดียว คือด้านที่สัมผัสกับผิวหนัง  เพราะอีกด้านหนึ่งวางอยู่บนซิลิโคนโดยตรง ไม่สามารถมีเลือดมาเลี้ยงได้   ( ดังภาพ  ทั้งสองเคส  พบว่าเมื่อกระดูกอ่อนสลายไปจึงมองเห็นซิลิโคนและผิวหนังที่ปลายบางเช่นเดิม )

การอยู่รอดของกระดูกอ่อนนั้น ทางแพทย์เรียกว่า  grafting  ชิ้นกระดูกอ่อนที่ย้ายมาจากที่อื่นเปรียบเสมือนกาฝาก ต้องการสารอาหารและเส้นเลือดใหม่จากเนื้อเยื่อรอบๆ จึงควรวางให้สัมผัสกับเนื้อเยื่อที่ดีโดยรอบให้มากที่สุด

      ข้อดี    คือ   ค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก  การผ่าตัดทำได้รวดเร็ว เพราะไม่ต้องแก้โครงสร้างจมูก

      ข้อเสีย  คือ   มีความเสี่ยงเรื่องการมองเห็นชิ้นกระดูกอ่อนเป็นวงที่ปลายจมูกมีโอกาสเกิดการสลายไปของกระดูกอ่อน และเวลาสัมผัสที่ปลายจมูกยังรู้สึกถึงซิลิโคนได้


วิธีที่ 3 วิธี Open Rhinoplasty+Recon
( เสริมจมูกแบบปรับโครงสร้าง สร้างปลายกระดูกอ่อนจริง

เสริมจมูก  โดยการวางซิลิโคนหรือวัสดุอื่นเช่น  Gore-tex  เพื่อเสริมเฉพาะที่สันจมูก  ร่วมกับการปรับแต่งโครงสร้างกระดูกอ่อนที่ปลายจมูกและการเสริมกระดูกอ่อนที่ปลายจมูก   ( Nasal bridge implant  + Nasal tip framework reshaping + cartilage graft )       (   หมอพีระได้นำมาพัฒนาต่อเนื่องจนปัจจุบันกลายเป็นเทคนิคเฉพาะ PSC Technique )

ซึ่งการปรับแต่งปลาย บางครั้งหมอเรียกย่อๆว่า Tip  Modification  แต่แท้ที่จริงแล้วคนที่วางคอนเซปท์เรื่องนี้นานมาแล้ว คือ  Professor Jach H.Sheen  ปัจจุบันอยู่ที่ California ,USA  ซึ่งตอนนั้นนิยมใช้กระดูกอ่อนกั้นกลางจมูก ( Septum )    แต่ในปัจจุบันในวงการจะนิยมใช้กระดูกอ่อนจากส่วนหลังใบหู  ( Concha )  หรือ กระดูกกั้นกลางจมูกก็ได้

( กระดูกอ่อนจะถูกแก้ไขเพื่อสร้างเป็นปลายใหม่ที่ได้รูปสวย  )

วิธีนี้ในปัจจุบันได้รับการยอมรับอย่างสูงในวงการศัลยแพทย์ตกแต่งเฉพาะด้านเสริมจมูกและตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ระดับนานาชาติมากมาย และพิสูจน์แล้วว่ามีความปลอดภัยสูงที่สุดและคงทนถาวร  เพราะสาเหตุดังนี้    

  1. ซิลิโคนหรือวัสดุเสริมจมูก  จะถูกวางในตำแหน่งที่ปลอดภัยและพบปัญหาน้อยมากคือที่สันจมูกเท่านั้น
  2. ที่ปลายจมูกซึ่งมีความเสี่ยงสูง   ไม่มีการใช้ซิลิโคน แต่อาศัยการปรับแต่งโครงสร้างจริงเป็นหลัก ได้แก่ การปรับแต่งรูปทรงกระดูกอ่อนธรรมชาติ  ทั้งขนาด การเรียงตัว มุมและองศาต่างๆ  ความสั้นยาวของกระดูกอ่อนต่างๆ  เพื่อให้เข้าใกล้กับโครงสร้างจมูกที่สวยที่สุดตามธรรมชาติ   อาจร่วมกับการใช้กระดูกอ่อนเสริมที่ปลายจมูกเลียนแบบกระดูกอ่อนจริงตามธรรมชาติ  จึงไม่พบปัญหาการมองเห็นวงของกระดูกอ่อนแม้ผิวหนังบางมากๆ   หรือในงานแก้ไขเป็นต้น
  3. ผิวหนังที่ปลาย สามารถยืดตามกระดูกจริงได้ โดยไม่มีการบางลงระยะยาว  เนื่องจากไม่เกิดการฝ่อตัว  เพราะไม่ได้สัมผัสกับวัสดุเทียม
  4. กระดูกอ่อนที่ปลายจมูกเป็นลักษณะผสมผสาน ระหว่างกระดูกอ่อนจริงที่มีอยู่แล้ว กับย้ายกระดูกอ่อนมา  และไม่มีการใช้ซิลิโคนแทรก จึงแทบไม่มีปัญหาเรื่องการฝ่อหรือสลายไปของกระดูกอ่อน แต่จำเป็นต้องมีความรู้และ เทคนิคในการดูแลกระดูกอ่อนเป็นอย่างดี
  5. โครงสร้างที่ใบหู หรือ กระดูกกั้นกลางจมูก จะไม่เสียรูปทรง เพราะนำส่วนที่ซ่อนอยู่ เฉพาะบางส่วนไปใช้เท่านั้น

ข้อดี       ความคงทน  สวยงามและปลอดภัยระยะยาว เวลาสัมผัสเป็นธรรมชาติเนื่องจากเป็นปลายกระดูกอ่อนจริง
ข้อเสีย    ความซับซ้อนของการผ่าตัดสูงมากหลายเท่า  ใช้เวลาผ่าตัดนานหลายชั่วโมง  ค่าใช้จ่ายสูงผลลัพธ์ขึ้นกับเทคนิคค่อนข้างมาก  และหากไม่ชำนาญการแก้ไขจะยากกว่าจึงต้องมีความแม่นยำสูง

กรณีการใช้กระดูกอ่อนเทียม เพื่อพยายามมาใช้แทนกระดูกอ่อนจริงนั้น วัสดุชนิดนี้แท้จริงคือ MEDPOR หรือ  porous polyethylene  จะมีรูพรุนให้เนื้อเยื่อเข้าไปยึดเกาะ หมอเลิกใช้ไปเมื่อหลายปีก่อนเนื่องจากพบปัญหาสำคัญคือ ยังมีโอกาสทะลุได้พอสมควร และปลายจมูกจะแข็งไม่มีการเคลื่อนไหวที่ดี  (Stiffness)  ปัจจุบันศัลยแพทย์ด้านทำจมูกที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศก็ไม่นิยมใช้เช่นกัน

สำหรับโดยส่วนตัว หมอชื่นชอบวิธีที่ 3 นี้  และใช้เป็นมาตรฐานในการผ่าตัดจมูก และได้ริเริ่มพัฒนามานาน ซึ่งที่ต่างประเทศก็มีการผ่าตัดลักษณะนี้อย่างแพร่หลายเช่นกันเนื่องจากปลอดภัยกว่าวิธีเดิม  หมอได้นำมาใช้กับคนไข้ตนเองตั้งแต่ยุคที่ในเมืองไทยยังไม่ค่อยรู้จัก บางศัลยแพทย์จึงยังออกความเห็นต่อต้านสิ่งเหล่านี้อยู่   ตอนที่มีสื่อมาสัมภาษณ์ก็เกิดกระแสต่อต้านรุนแรงพอสมควร  หมออดทนพัฒนาเรื่อยมาให้ได้งานที่สมบูรณ์ และปัจจุบันกลายเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปแล้ว  ที่คลินิกเองคนไข้จะมาปรึกษาเรื่องการผ่าตัดจมูกชนิดนี้เป็นหลัก   จนแทบจะยกเลิกการผ่าตัดสองวิธีแรกไปแล้ว ทั้งที่แต่ก่อนหมอก็ชอบใช้ซิลิโคนเสริมจมูก และเห็นว่าสะดวกดี      

ข้อจำกัดคือ ความซับซ้อนในการผ่าตัดซึ่งมากกว่าปกติหลายเท่า  ใช้เวลาผ่าตัดนานเกือบ 3.5 ชั่วโมง/ราย ที่ PSC จึงรับเคสเพียงวันละ 1 รายเท่านั้น ยิ่งเคสแก้ไขยิ่งยากทวีคูณเพราะเซนสิทีฟมาก เพราะโครงสร้างทุกอย่างต้องซ่อมส่วนที่เสียหายจากซิลิโคนเดิมเสียก่อนและผิวหนังก็มักจะบางมาก

ในแง่ของคนไข้เอง  คนที่สนใจในการผ่าตัดชนิดนี้ก็ควรสอบถามศัลยแพทย์ของตนในรายละเอียดว่าการผ่าตัดเสริมจมูกเป็นวิธีไหนในระหว่าง 3 วิธีดังกล่าว  และอาจต้องตัดสินใจในแง่ของความเสี่ยง  ข้อดี ข้อเสีย และ ค่าใช้จ่ายที่ตนเองยอมรับได้ด้วยเช่นกันครับ


คุณหมอพีระ ได้รับเชิญจากสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย ปี 2020 บรรยายวิชาการ 2 เรื่อง คือ “เทคนิคการผ่าตัดเสริมหน้าอก” และ “การผ่าตัดเสริมจมูกด้วยการสร้างปลายกระดูกอ่อนจริง ”

นพ.พีระ เทียนไพฑูรย์ ( Peera Thienpaitoon,MD )
Plastic surgeon and director of PSC_ Plastic Surgery Center Thailand )

• แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการศัลยกรรมตกแต่ง ศัลยกรรมหน้าอก( Breast surgery) และศัลยกรรมจมูกและใบหน้า ( Nose& Facial surgery ) ประสบการณ์มากกว่า 15 ปี

• สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย

• สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งความงามนานาชาติ

• International Society of Aesthetic Plastic Surgery (ISAPS)

• สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งด้านจมูกแห่งเอเชีย ( Rhinoplasty Surgeon Society of Asia)

• วิทยากร บรรยายด้านศัลยกรรมตกแต่งเต้านม ทั้งในและต่างประเทศ

อ่านประวัติแพทย์เพิ่มเติม click !

แบบฟอร์มขอคำปรึกษาแพทย์

    ติดต่อคลินิก